เครื่องตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติ

เครื่องตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดมีความสำคัญมากในการวินิจฉัย

โรคเลือดและโรคอื่นๆอีกหลายชนิด ถือเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานที่ควรรู้จัก เรียก

ว่า complete blood count (CBC) โดยทั่วไปแพทย์เลือกการตรวจที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละ

ราย และกระทำอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด ปัจจุบันได้มีการนำเครื่อง

ตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติ (automated CBC) มาใช้อย่างแพร่หลาย พบว่าการตรวจด้วย

เครื่องอัตโนมัติช่วยทุ่นแรงในการตรวจคัดกรองตัวอย่างเลือดปกติได้เป็นอย่างดี และยังสามารถช่วย

ในการวินิจฉัยโรคบางโรคได้อย่างแม่นยำในเบื้องต้น


เทคนิคที่ใช้ในการนับจำนวนเม็ดเลือดโดยเครื่องตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติ มีสองวิธีใหญ่ๆ

คือ วิธีวัดเซลล์เม็ดเลือดที่วิ่งผ่านรูเล็กๆภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า และวิธีใช้แสงเลเซอร์ส่องผ่าน

ไปยังเซลล์เม็ดเลือดแล้วตรวจดูการหักเหของแสงด้วยตัวรับในมุมต่าง ๆ


สำหรับวิธีวัดเซลล์เม็ดเลือดที่วิ่งผ่านรูเล็กๆภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องจะทำการตรวจสอง

ครั้ง ครั้งแรกตรวจเลือดที่ทำให้เจือจางเพื่อตรวจนับเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดก่อน โดยแยกที่

ขนาดของเซลล์ เซลล์ที่มีขนาด 0.20 fl จะนับเป็นเกล็ดเลือดในขณะที่เซลล์ขนาด 50-200 fl จะนับ

เป็นเม็ดเลือดแดง การตรวจครั้งที่สอง เครื่องจะใช้ตัวอย่างเลือดที่ผสมสารซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดง

แตกเพื่อทำการตรวจนับเม็ดเลือดขาวอีกครั้ง


ส่วนวิธีที่สองคือวิธีใช้แสงเลเซอร์ส่องผ่านไปยังเซลล์เม็ดเลือดแล้วตรวจดูการหักเหของแสงด้วยตัว

รับในมุมต่างๆ วิธีนี้ใช้แสงเลเซอร์ส่องผ่านไปยังเซลล์เม็ดเลือด และตรวจดูการหักเหของแสงด้วยตัว

รับในมุมต่างๆซึ่งรูปแบบของการหักเหนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนขนาด และส่วนประกอบภายในเซลล์


การนับแยกเม็ดเลือดขาวมีได้หลายแบบขึ้นกับชนิดและหลักการทำงานของเครื่อง โดยอาจแบ่งเป็น

แบบใหญ่ๆได้ดังนี้ แบบแรกแบ่งเม็ดเลือดขาวออกเป็น 3 ชนิดโดยดูขนาดของเซลล์ที่วัดได้ ขนาด

30-90 fl เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์ (lymphocyte) ขนาด 90-160 fl เป็นเม็ดเลือดขาวชนิด

โมโนนิวเคลียร์เซลล์ (mononuclear cell) และขนาด 160-450 fl เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแก

รนูโลซัยท์ (granulocyte)


แบบที่สองจะแบ่งเม็ดเลือดขาวออกเป็น 5 ชนิดจากตำแหน่งของเซลล์ที่เกิดจากการหักเหของแสง

เลเซอร์ที่ต่างกัน เครื่องจะมีคำเตือนเมื่อตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว แบบ

สุดท้ายจะแบ่งเม็ดเลือดขาวออกเป็น 6 ชนิด ใช้หลักการแยกเซลล์ด้วยเอ็นไซม์ เปอร์ออกซิเดส ร่วม

กับการดูขนาดของเซลล์


เมื่อได้ค่าที่วัดได้ต่างๆเรียบร้อยแล้ว เครื่องตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดอัตโนมัติจะนำค่าเหล่านี้มาทำเป็น

ฮิสโตแกรม (histogram) เพื่อบอกถึงความผิดปกติในการกระจายของเม็ดเลือด ลักษณะเป็นกราฟที่

แสดงการกระจายความถี่ของเซลล์ตามขนาดของเซลล์ซึ่งจะมีทั้งฮิสโตแกรมของเม็ดเลือดแดง ฮิส

โตแกรมของเม็ดเลือดขาว และฮิสโตแกรมของเกล็ดเลือด ขึ้นกับชนิดของเครื่องที่ใช้ในการตรวจ


ที่มา: http://www.bangkokhealth.com/health/...%E0%B8%B4-1895