ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีความปวดแบบเฉียบพลัน มีลักษณะของปวดกระดูกมา ยังไม่ถึง 3 เดือน ปวดไขสันหลัง ปวดหลัง ปวดร้าวซึ่งในลักษณะแบบนี้ถ้าในกรณีที่ต้องผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกหรือระบบประสาท ได้พิจารณาแล้วจำเป็นต้องผ่าตัดก็จะได้เข้าไปประเมินตั้งแต่เริ่มให้วิสัญญีแพทย์ดูแลร่วมกันเลือกการทำหรือวิธีการสกัดกั้นระบบประสาทลดความปวด ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัด หรือว่าจะให้ยา ไม่ว่าจะให้ยาแก้ปวดเข้าหลอดเลือดดำและออกฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยหายปวด ยาในกลุ่มระงับปวด ในกลุ่มของมอร์ฟีนกับกลุ่มที่ไม่ใช้มอร์ฟีน เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์การลดปวดหลังการผ่าตัดจะมีการปรับให้ยาตามเทคนิคที่เหมาะสมซึ่งในปัจจุบันก็จะมีเครื่องมือช่วยให้การระงับปวดมีประสิทธิภาพดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นเครื่อง Paient Control Analgesia ซึ่งเป็นเครื่องที่ผู้ป่วยสามารถกดยาแก้ปวดเมื่อต้องการได้เองเมื่อผู้ป่วยมีความปวดยาก็จะเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยตามที่แพทย์ได้ตั้งไว้ในขนาดและเวลาที่ปลอดภัยเครื่องนี้เรียกย่อว่า PCA ซึ่งมักให้ในรายที่ต้องการการระงับปวดที่รุนแรงการดูแลหลังการผ่าตัดที่ดีสามารถที่จะสะกัดกั้นวงจรความปวด ที่นำไปสู่ความปวดแบบเรื้อรังเน้นการดูแลหลังผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม มีผลระงับปวดที่ผู้ป่วยพอใจป้องกันการปวดเรื้อรัง

Name:  Chemotherapy-And-Cannabis-Could-Help-Fight-Leukemia-Study.jpg
Views: 47
Size:  43.3 KB

ที่มา: http://www.bangkokhealth.com/health/...1%E0%B8%94-836