ให้ลูกเล่นคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เล็ก...ดีไหม

เดิมคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มัก มั่นใจว่าการให้ลูกเล่นคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เล็กนั้นเป็นผลดี ยิ่งเล็กมากขึ้นเท่าไรก็จะยิ่งเพิ่มศักยภาพมากขึ้นเท่านั้น คอมพิวเตอร์สามารถที่จะช่วยพัฒนาลูกในเรื่องของการใช้มือ และตา ควบคู่ไปกับทักษะด้านอื่นๆ ปัจจุบันจึงมีคุณพ่อคุณแม่ที่เริ่มให้ลูกหัดใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่เล็ก จาก การสำรวจของ ไคเซอร์ แฟมิลี่ ฟาวเดชั่น (Kaiser Family Foundation) ในปี 2003 ไม่น่าเชื่อนะครับว่าร้อยละ 31 ของเด็กอายุ 3 ขวบและต่ำกว่านั้น สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้แล้ว ร้อยละ 16 ใช้คอมพิวเตอร์อาทิตย์ละหลายชั่วโมง ร้อยละ 21 สามารถชี้และคลิ๊กเมาส์ได้ด้วยตัวเอง
และร้อยละ 11 สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เองได้โดยไม่ต้องมีใครช่วย

นอกจากนี้ยังมีบริษัทผลิตเมาส์ตัวเล็กๆ ที่เหมาะกับมือเด็ก เป็น รูปร่างและลวดลายการ์ตูน ยิ่งทำให้เด็กเล็กอายุ 2-3 ขวบใช้เมาส์ได้ง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่หลายคนรู้สึกภาคภูมิใจนะครับ ที่เห็นลูกสามารถใช้เมาส์ได้ตั้งแต่
ยังเล็ก แต่พ่อแม่ส่วนหนึ่งอาจสังเกตเห็นว่าลูกไม่ได้เรียนรู้อะไรมากมายนัก ก็แค่คลิ๊กๆ ลากๆ เมาส์ แล้วก็เล่นเกมซ้ำๆ และปัจจุบันเริ่มมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่าการให้เด็กเล่นคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ยังเล็กอาจจะไม่ดีเสมอไปนะครับ เริ่ม มีการโต้เถียงกันมากว่า เด็กสมควรจะเรียนรู้เทคโนโลยีกันแต่ตั้งเล็กๆ หรือไม่ พ่อแม่ และโรงเรียนบางแห่งเริ่มมองว่าไม่มีประโยชน์ และยังเตือนอีกว่า การเร่งรัดนั้นยังไปขัดขวางพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กครับ

Name:  aemsnluukaichkhmphiwetr.jpg
Views: 24
Size:  18.2 KB

Failure to Connect

มีหนังสือขายดีและน่าสนใจชื่อ Failure to Connect : How computer effect our children mind โดย Jane M. Healy เธอพบว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าบ้าน ด้วยเหตุผลหลัก คือ เรื่องการศึกษาของลูก คนอเมริกันเชื่อว่าทักษะด้านคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญมากสำหรับ เด็ก นอกจากนี้หลายๆ โรงเรียนในสหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ค่อนข้างสูง และมันได้ดึงงบประมาณของโรงเรียนในการที่จะนำไปใช้กับกิจกรรมที่เสริมทักษะ ด้านอื่นเช่นดนตรี กีฬา และศิลปะ นอกจากนั้นบางโรงเรียนอาจขาดการโปรแกรมการศึกษาที่เหมาะสม หรือครูไม่ได้เตรียมการสอน เด็กจึงมักใช้คอมพิวเตอร์ไม่คุ้มค่า หรือใช้ผิดหลักการเช่นใช้เล่นเกมส์

สิ่งที่ขาดหายไป

imageเธอบอกว่าสิ่งที่คอมพิวเตอร์ขาดไป คือ เรื่องของช่องว่าง ระยะห่าง (Space) ของสิ่งต่างๆ รวมถึงการรับรู้โลกแห่งความเป็นจริงซึ่งเป็นสามมิติ นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถทดแทนการเล่นของเด็กแบบเดิมๆ ได้ เช่น การใช้มือปั้นดินน้ำมัน การระบายและแต่งแต้มสีด้วยนิ้วมือ ซึ่งต้องใช้
การ เคลื่อนไหวและการประสานงานกันของกล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ มือ การมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งที่ทำ รวมถึงการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดในทางอารมณ์ที่จะได้รับการพัฒนาควรมาจากโลกสามมิติ หรือโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ควรจะถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์ได้พรากเด็กๆ ไปจากกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาสมอง

การสื่อสารทางเดียว

คอมพิวเตอร์เป็นการสื่อสารทางเดียว (One way communication) ประเภท หนึ่ง ถึงจะดีกว่าโทรทัศน์บ้างตรงที่เวลาคลิกเม้าส์ จะมีการตอบสนองภาพและเสียงกลับมา แม้จะมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะจากลูกน้อยเวลาเล่นคอมพิวเตอร์ แต่เด็กก็ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างมีปฏิสัมพันธ์ตามธรรมชาติอยู่ดี คอมพิวเตอร์ไม่สามารถพูดคุย แสดงอารมณ์โต้ตอบกับลูกโดยตรง ไม่สามารถเล่นกับลูกแบบมีปฏิสัมพันธ์ เช่นเล่นจ๊ะเอ๋ ซ่อนหา วิ่งไล่จับ เหมือนคุณพ่อคุณแม่ทำ เด็กที่ใช้เวลากับคอมพิวเตอร์มากเกินไปจะไม่ได้เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับ คนอื่น คอมพิวเตอร์จึงอาจมีผลเสียต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กเล็ก นอกจากนี้เด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไปตั้งแต่ยังอายุน้อยอาจแสดอาการ บางอย่างคล้ายเด็กออทิสติก

ควรให้ลูกเล่นคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เมื่อไร

Healy เสนอแนวคิดว่า เด็ก ควรจะได้ใช้คอมพิวเตอร์เมื่ออายุประมาณ 7 ปีไปแล้วและควรใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมการเรียนรู้เท่านั้นไม่ ใช่ให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในระบบการศึกษา ผมขอเรียนท่านผู้อ่านว่าเรื่องนี้ยังคงต้องมีข้อถกเถียงตามมาและต้องมีการ ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีก ส่วนหลักการที่น่าจะยึดถือได้ในปัจจุบัน น่าจะเป็นของสมาคมกุมารแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics ) ที่แนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะอายุได้ 2 ขวบ เพราะมันจะทำให้เด็กไม่ได้รับการกระตุ้นในเรื่องต่างๆ

คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตนั้น มีประโยชน์ในการเรียนรู้และการค้นหาข้อมูลของเด็กโตและผู้ใหญ่อย่างแน่ นอน แต่ สำหรับเด็กเล็กแล้ว คงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีก อย่างไรก็ตามการได้เล่น ได้มีกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่ ยังจำเป็นมากสำหรับพัฒนาการสมองของลูกน้อยครับ

ที่มา : นพ.กมล แสงทองศรีกมล
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
http://www.bangkokhealth.com/health/...%E0%B8%A1-2254