Windows 7 สิ้นสุดแล้ว หลัง Microsoft หยุดสนับสนุน Windows 7 แล้วในวันนี้ ( 14 มกราคม 2020 ) โดย Microsoft ได้ปล่อยแพตช์ด้านความมั่นคงปลอดภัยให้กับ Windows 7 และ Windows Server 2008 (รวมทั้ง 2008 R2) เป็นครั้งสุดท้ายในคืนวันที่ 14 มกราคม 2020 หลังจากนั้นทั้งสองระบบปฏิบัติการนี้จะไม่ได้รับอัปเดตหรือการสนับสนุนทางเทคนิคใดๆ อีกต่อไป
ส่งผลกระทบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows 7 และ Windows Server 2008 อยู่ มีความเสี่ยงจากการถูกแฮก ไม่รองรับภัยคุกคามทางไซเบอร์แบบใหม่ๆอีกต่อไป จะป้องกันต่อได้ก็ต่อเมื่ออัปเกรดเป็น Windows 10 เท่านั้น
จากข้อมูลของเว็บไซต์ Shodan เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยจำนวน 211 เครื่องที่ยังใช้งาน Windows Server 2008 โดยมี 164 เครื่องเปิดพอร์ต Remote Desktop ให้เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกโจมตีได้ หรืออาจถูกโจมตีสำเร็จไปก่อนหน้านี้แล้วก็ได้
สำหรับผู้ใช้ทั่วไป แค่นำคอมพิวเตอร์เก่าไปเชื่อมต่อกับ NETWORK ก็ติดมัลแวร์ ถูกแฮกได้แล้ว โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรกับเครื่องเลย เพราะฉะนั้นการนำคอมพิวเตอร์ที่มีช่องโหว่ด้านความมั่นคงปลอดภัยมาเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมทางการเงินนั้นมีความเสี่ยงสูงมาก โดยมูลค่าความเสียหายหากถูกแฮกบัญชีธนาคารอาจมากกว่าราคา Windows หรือค่าซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่
สำหรับองค์กร ควรพิจารณาเหตุผลความจำเป็นที่ยังคงต้องใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 และ Windows Server 2008 โดยเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการให้บริการหรือความเสี่ยงต่อข้อมูล เพราะถึงแม้หากระบบถูกโจมตีทางไซเบอร์แล้วยังมีโอกาสกู้ระบบกลับคืนมาได้ แต่สำหรับเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลนั้นการแก้ไขปัญหาอาจทำได้ยากรวมถึงอาจมีความเสี่ยงด้านกฎหมายด้วย
และซอฟต์แวร์ตัวใหม่ตั้งแต่ปี 2020 นี้จะไม่มีผลิตโปรแกรมใหม่เพื่อใช้กับ Windows 7 กับ Windows Server 2008 อีกต่อไป
แม้ว่าคุณยังสามารถใช้ Windows 7 กับ Windows Server 2008 จะใช้ได้ปกติแต่ก็จะตกอยู่ในความเสี่ยงเรื่องภัยคุกคามไซเบอร์ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆแบบไม่มีทางแก้ไขได้เลย เพราะ Microsoft ไม่ปล่อยชุดแก้ไขภัยโจมตีสำหรับ Windows 7 กับ Windows Server 2008 แล้ว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรอัปเกรดเป็น Windows 10 หรือซื้อคอมใหม่ที่ใช้บน Windows 10 ส่วนบริษัทองค์กร ผู้ดูแลระบบควรประเมินความเสี่ยงและวางแผนในการแก้ปัญหา โดยทำการอัปเกรดโดยเร็ว และทำให้ระบบเก่าที่ใช้ในองค์กรทำงานเข้ากับ Windows 10 ให้ได้
ที่มา : https://www.it24hrs.com/2020/windows...upported-2020/