จีดีพีของประเทศออสเตรเลียปรับตัวลงมากที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูล
ธนาคารกลางแห่งออสเตรเลียได้ออกมานำเสนอข้อมูลในวันศุกร์ว่า เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลียเตรียมพบกับการหดตัวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องมาจากเชื้อไวรัสโคโรน่า (coronavirus) หรือ Covid-19 ในแถลงการณ์นโยบายการเงินประจำไตรมาส ธนาคารกลางกล่าวว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคาดว่าจะหดตัวไปราวๆ 10% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างมากไตรมาสของเดือนมิถุนายน ธนาคารตั้งข้อสังเกตการปรับตัวลงในไตรมาสของเดือนมิถุนายน จะเป็นช่วงที่มากที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญลงไป 0.25% และนำเสนอโครงการมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณในเดือนมีนาคมออกมา เพื่อรับมือกับการพังทลายที่เกิดจากโรคระบาด แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายทางการเงิน และการคลัง แต่ธนาคารยังคงพบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นมาจนถึง 10% ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1994 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ร่วงลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะลดลงไปประมาณ 2.25% ในไตรมาสของเดือนมิถุนายน และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบไปในจนถึงช่วงสิ้นปี เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นช่วงทศวรรษที่ 1960 ธนาคารกล่าวว่า แนวโน้มในช่วงไตรมาสของเดือนมิถุนายนมีความไม่แน่นอน เพราะการฟื้นตัวนั้นขึ้นอยู่กับมาตรการอยู่ห่างกันทางทางสังคมว่ายังคใช้งานอยู่อีกนานแค่ไหน เศรษฐกิจคาดการณ์ว่าจะปรับตัวขึ้นมาถึง 7% ในรอบปีนี้ ซึ่งสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ปี 2021 และขยายตัวมาอีกถึง 5% ในปี 2022 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.75% ในปีที่ ที่สิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ปี2021 แต่จะชะลอตัวลงไปอยู่ที่ 1.5% ในเดือนมิถุนายน ปี2022 ธนาคารแห่งออสเตรเลีย ยังพิจารณาสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป สำหรับการฟื้นตัวในประเทศเช่นเดียวกับธนาคารกลางสำคัญแห่งอื่นๆ โดยได้พิจารณาจากผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ และการตอบสนองนโยบายที่มีความเกี่ยวข้อง ธนาคารกล่าวว่า ผลลัพธ์ของการเติบโตจีดีพี, การว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อในสถานการณ์พื้นฐาน 'การฟื้นตัวเป็นลำดับ' นั้นโดยรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ การคาดการณ์ของโดยเฉลี่ยของตลาด สำหรับตัวแปรเหล่านี้ในปี 2020 และ 2021