Name:  ec9a6f6368191978554ededb0605585d.jpg
Views: 200
Size:  40.2 KB

กกท. เชิดชู "ต๋อย ศิษย์ฉ่อยคือ ฮีโร่สนุกเกอร์ นำประวัติสู่หอเกียรติคุณ

กกท. จัดงาน “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” คือตำนานฮีโร่สนุกเกอร์ เป็นต้นแบบแรงบันดาลใจ ดร.ก้องศักด ยอดมณี เตรียมจัดงาน "The Snooker Legend" วันศุกร์ที่ 9 ต.ค.นี้

การกีฬาแห่งประเทศไทย โดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย เตรียมจัดงาน “36 ปี “ต๋อง ฟีเวอร์” The Snooker Legend” ขึ้นในวันศุกร์ที่ 9 ตุลาคมนี้ เพื่อเป็นเกียรติประวัติต่อ “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” อดีตนักสนุกเกอร์มือวางอันดับ 3 ของโลก ผู้นับเป็นแบบอย่าง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทย ที่สนใจในกีฬาอาชีพและปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยยก “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

“ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” ตำนานสนุกเกอร์ไทย อดีตมือวางอันดับ 3 เป็นผู้ปลุกกระแสให้ เยาวชน ทำให้คนไทยหันมาสนใจในกีฬาสนุกเกอร์กว้างแพร่หลาย กลายเป็นกระแส “ต๋อง ฟีเวอร์” โดยเฉพาะช่วงชีวิตที่รุ่งโรจน์ หลังคว้าสนุกเกอร์สมัครเล่นโลกที่แดนจิงโจ้ เมื่อปี 2531 ก่อนหันมาเทิร์โปรลงแข่งขันระดับโลกในปีถัดมา ก็ได้สร้างกระแสอย่างต่อเนื่องมาหลายปี อันเกิดมาจากกระแส “ต๋อง ฟีเว่อร์” ในช่วงเวลานั้น ทำให้ธุรกิจ สนุกเกอร์ เฟื่องฟูอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน และส่งผลให้การจัดการแข่งขันสนุกเกอร์ ทั้งระดับสมัครเล่นและอาชีพ ระดับประชาชนทั่วไปและเยาวชน ทั้งชายและหญิง ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับว่าสนุกเกอร์เป็นกีฬาอย่างแท้จริง

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 นายศักดา รัตนสุบรรณ อุปนายกสมาคมกีฬาบิลเลียดแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย “ต๋อง ศิษย์ฉ่อย” ได้เดินทางมามอบไม้คิวส่วนตัวที่ใช้ในการต๋อง ศิษย์ฉ่อย เป็นผู้ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาสนใจในกีฬาสนุกเกอร์ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการแข่งขันสนุกเกอร์ระดับอาชีพและระดับเยาวชนแล้ว

แข่งขัน พร้อมกับเสื้อกั๊กที่ใช้ลงแข่งขันมาอย่างยาวนาน ให้กับพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ โดยมี ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำมาเก็บในพิพิธภัณฑ์ ให้แฟนกีฬาสามารถเข้าเยี่ยมชม และได้รู้จักประวัติฮีโร่ของประเทศที่สร้างชื่อเสียงได้ ณ พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ การกีฬาแห่งประเทศไทย

สำหรับประวัติ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย จากวิกิพีเดีย มีชื่อจริงว่า วัฒนา ภู่โอบอ้อม (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น รัชพล ภู่โอบอ้อม) เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรของ นายโกวิน ภู่โอบอ้อม กับนางพลอยรุ้ง ภู่โอบอ้อม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนเทพสัมฤทธิ์วิทยา และมัธยมต้นจากโรงเรียนศรีวิกรม์

โกวิน ภู่โอบอ้อม บิดาของวัฒนา เป็นนักสนุกเกอร์อาชีพ ฉายา "ฉ่อย ซู่ซ่าส์" วัฒนาซึ่งติดตามดูบิดาเล่นสนุกเกอร์มาตั้งแต่เด็ก จึงได้ฝึกฝนฝีมือมาตั้งแต่ยังเล็ก เริ่มแข่งขันสนุกเกอร์ในระดับเยาวชน ได้รองชนะเลิศการแข่งขันประเภทดาวรุ่ง ของนิตยสารคิวทอง เมื่อ พ.ศ. 2527 ขณะอายุเพียง 14 ปี โดยได้ฉายา "ต๋อง ศิษย์ฉ่อย" เพราะบิดา (ฉ่อย ซู่ซ่าส์) เป็นครูผู้สอน

ต๋องชนะเลิศการแข่งขันชิงแชมป์รายการสนุกเกอร์สมัครเล่นโลกเมื่อปี พ.ศ. 2531 ที่ประเทศออสเตรเลีย เริ่มเล่นอาชีพเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีฉายาในเมืองไทยว่า "ไทย ทอร์นาโด" ส่วนในต่างประเทศมีฉายาว่า "Thai Phoon" (อ่านออกเสียงเหมือนคำว่า Typhoon - ไต้ฝุ่น) เนื่องจากไต่อันดับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำและเล่นด้วยความรวดเร็ว เป็นนักกีฬาสนุกเกอร์จากภูมิภาคเอเชียคนแรกที่ประสบความสำเร็จในการเล่นสายอาชีพ (ซึ่งต่อมาก็มีนักสนุกเกอร์จากฮ่องกงคือ มาร์โก ฟู เกาจุน และดิง จุง ฮุยจากประเทศจีน ที่สามารถเข้ามามีอันดับโลกอยู่ภายใน 16 คนแรกของโลก) ได้แชมป์รายการแข่งขันรายการอาชีพสะสมคะแนนทั้งสิ้น 3 รายการ อันดับโลกที่สูงที่สุดคืออันดับที่ 3 ของโลกในช่วงฤดูกาลปี 1994/95 โดยเป็นรองเพียง สตีเฟน เฮนดรี้ และ สตีฟ เดวิส เท่านั้น นอกจากนี้ต๋องยังเป็นนักสนุกเกอร์คนที่ 8 ของโลกที่สามารถทำเงินรางวัลได้มากกว่า 1 ล้านปอนด์ ปัจจุบันทำรายได้ทั้งหมดจากการแข่งขันอาชีพ 1.75 ล้านปอนด์

ช่วงที่ต๋องสามารถทำผลงานได้ดีนั้นอยู่ในช่วงกลางทศวรรษของปี 90 ได้รับการคาดหวังจากผู้คนรอบด้านทั้งจากภายในประเทศและสื่อต่างประเทศ จนกระทั่งหลังจากฤดูกาล 1997 ฟอร์มของต๋องก็เริ่มตกลงไปอย่างน่าใจหาย จนในปี 1999 อันดับโลกของต๋องก็หลุดจาก 16 คนแรกของโลกหลังจากอยู่ในอันดับ 1-16 มาได้ 7 ปี จนมาถึงฤดูกาลปี 2007/08 อันดับโลกอย่างไม่เป็นทางการในฤดูกาลนั้นคืออันดับที่ 64 และเป็นที่แน่นอนแล้วว่าหลังจากจบรายการชิงแชมป์โลกประจำฤดูกาล ซึ่งต๋องไม่สามารถชนะในรอบคัดเลือกได้ ทำให้อันดับโลกของต๋องจะต้องหลุดจากอันดับ 64 ของโลกเป็นที่แน่นอนแล้ว และส่งผลให้ต๋องต้องหลุดจากมือวางที่ได้สิทธิ์แข่งขันอาชีพที่ประเทศอังกฤษทันทีหลังจากเดินทางบนเส้นทางสายนี้มายาวนานเกือบ 2 ทศวรรษ แต่หลังจากต๋องสามารถคว้าแชมป์รายการ Asian Championship ในช่วงกลางปี 2009 ที่จัดการแข่งขันที่ประเทศจีน โดยเอาชนะคู่แข่งขันคือ Mei Xiwen ไปได้ 7-3 เฟรม ทำให้ในฤดูกาลปี 2009/10 ต๋องได้กลับไปเล่นสนุกเกอร์อาชีพที่ประเทศอังกฤษอีกครั้ง

ที่มา: https://www.smmsport.com/reader/article/21499