whoscall เผยยอดเบอร์มิจฉาชีพโทรหลอกลวงคนไทย พุ่งสูงขึ้น 270% โดยในปี 2564 มีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงในประเทศไทยมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง และข้อความ SMS หลอกลวงยังเพิ่มขึ้นถึง 57% โดยวิธีที่พบบ่อยนักต้มตุ๋นจะส่งลิงค์ Phishing ในการหลอกเชิญชวนให้ดาวน์โหลดแอปที่เป็นอันตรายและหลอกขโมยข้อมูลส่วนตัว ในขณะที่ทั่วโลก Whoscall เผยจำนวนการโทรและข้อความหลอกลวงทั่วโลกมีจำนวนถึง 460 ล้านครั้ง

Name:  whoscall-report-thailand-2021-c01.jpg
Views: 188
Size:  46.6 KB

whoscall เผยยอดเบอร์มิจฉาชีพโทรหลอกลวงคนไทย พุ่งสูงขึ้น 270%

ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ หัวหน้าฝ่ายการตลาด Gogolook ประเทศไทย เผยว่า “การหลอกลวงด้วยวิธีการส่งข้อความมีต้นทุนที่ต่ำ ประกอบกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือเหยื่ออยู่ในอัตราสูง ทำให้จำนวนข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน ตั้งแต่ปี 2563 และเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2564 โดยข้อความ SMS หลอกลวงในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 57% เมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งข้อความเหล่านี้อาจนำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือการสูญเสียทรัพย์สิน ซึ่งประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังเมื่อมีเบอร์แปลกโทรหรือส่งข้อความเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากลุ่มดังกล่าวมีการขอข้อมูลส่วนตัว Whoscall เป็นเหมือนผู้ช่วยให้เราคัดกรองเบอร์เบื้องต้น รู้ทันถึงที่มาของผู้ส่งและสายโทรเข้าที่ไม่รู้จัก Community Report หรือ การรายงานเพื่อระบุหมายเลขโทรศัพท์หลอกลวงจากผู้ใช้ Whoscall เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถือเป็นการช่วยกันของคนไทยเพื่อเสริมเกราะป้องกันภัยจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี รวมถึงช่วยปกป้องคนที่คุณรัก และช่วยให้พ้นจากการถูกหลอกลวง”

Name:  whoscall-report-thailand-2021-c03.jpg
Views: 145
Size:  35.6 KB

ในช่วงปี 2564 การโทรหลอกลวงมีความแนบเนียนและมีความถี่สูงขึ้น สายมิจฉาชีพจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เช่นการโทรที่อ้างว่ามาจากคอลเซ็นเตอร์บริการจัดส่งสินค้า ซึ่งเริ่มรุนแรงมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 นั้นถือเป็นเรื่องปกติมากขึ้น ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม และจากการหลอกลวงดังกล่าวส่งผลให้เหยื่อสูญเสียเงินมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้การฉ้อโกงอีกแบบหนึ่งที่ได้รับการรายงานจากผู้ใช้ Whoscall คือ การโทรศัพท์ที่อ้างว่ามาจากตำรวจ โดยกล่าวหาว่าผู้ใช้มีส่วนร่วมในอาชญากรรม เช่น การฟอกเงิน เป็นต้น

จากรายงานของ Whoscall เกี่ยวกับมิจฉาชีพในประเทศไทยนั้น ในประเทศอื่นๆ ต่างใช้กลวิธีที่หลากหลาย อาทิเช่น ไต้หวันได้รับผลกระทบจากการหลอกลวงด้านการลงทุนในหุ้น เนื่องมาจากตลาดหุ้นที่เฟื่องฟู ขณะที่ในฮ่องกง มาเลเซีย และเกาหลี มีผู้หลอกลวงโดยการปลอมตัวเป็นอัยการ ในญี่ปุ่น พนักงานบริษัทไฟฟ้าปลอมได้ทำการโทรศัพท์หลอกลวงเพื่อเรียกเก็บค่าบริการบำรุงรักษาสำหรับผู้บริโภคด้วย

Name:  whoscall-report-thailand-2021-c04.jpg
Views: 119
Size:  40.7 KB

Whoscall เผยอีกว่า ในปี 2564 ข้อความหลอกลวงทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 70% ซึ่ง Phishing เป็นรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยที่สุด โดยเหยื่อจะถูกล่อให้เพิ่มเพื่อนกับบัญชีปลอมบนโซเชียลมีเดีย หรือหลอกให้เข้าถึงเว็บไซต์ปลอม หรือแม้แต่การดาวน์โหลดแอปอันตราย

อีริค ลี ผู้อำนวยการด้านเทคนิคและการค้นคว้าวิจัยด้านซอฟต์แวร์และเทคโนโลยี AI ของ Gogolook กล่าวว่า “นักต้มตุ๋นมักจะพยายามหลอกล่อให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดไฟล์ APK ผ่าน Link โดยไฟล์แอปนี้หลีกเลี่ยงการตรวจสอบและไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่บนแอปสโตร์ต่าง ๆ หลังการติดตั้ง มัลแวร์นี้อาจมีการเรียกเก็บเงินจำนวนเล็กน้อย หรือขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ซึ่งมีแนวโน้มว่ากลอุบายที่ได้รับรายงานในประเทศอื่น ๆ อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอปพลิเคชั่นจากแหล่งที่ไม่รู้จักเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น”

Whoscall สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก App Store และ Play Store เมื่อติดตั้งและตั้งค่าแล้ว Whoscall จะช่วยระบุเลขหมายโทรศัพท์ที่ไม่รู้จักและยังสามารถสแกนลิ้งค์จากข้อความ SMS ที่อาจเป็นอันตรายได้ ปัจจุบัน Whoscall มียอดดาวน์โหลดมากกว่า 100 ล้านครั้งทั่วโลก

ที่มา: https://www.it24hrs.com/2022/whoscal...thailand-2021/