ดัชนีดอลลาร์ร่วงลง 4% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการลดลงที่มีความสำคัญตั้งแต่มีนาคม 2020 ซึ่งการเคลื่อนไหวลักษณะแบบนี้มักจะตามมาด้วยการพลิกกลับของแนวโน้ม
แรงกดดันต่อดอลลาร์เริ่มรุนแรงมากขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาจากการเก็งกำไรว่าเฟดจะเริ่มแตะเบรกในการประชุมนโยบายครั้งต่อไป ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายเริ่มส่งสัญญาณถึงการผ่อนคลายของวัฎจักรที่เข้มงวด ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่หนุนสินทรัพย์เสี่ยงในวงกว้าง
ในด้านธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ยังไม่มีการเผยสัญญาณการผ่อนคลายทางวัฎจักร ซึ่งทำให้ย้อนกลับไปที่สถานการณ์ก่อนนี้ที่เฟดยังคงเป็นผู้นำในวัฎจักรการเข้มงวดเชิงทางด้านนโยบายการเงิน
หน่วยงานทางด้านการเงินของยูโรโซนยังคงส่งสัญญาณต่อเนื่องในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงความพร้อมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง แรงกดดันดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการเทขายสินทรัพย์ดอลลาร์จากคลังสำรองของ SNB และ BoJ
USDCHF และ USDJPY เคลื่อนไหวกลับไปที่ระดับที่มีความสำคัญที่ 1.0 และ 150 ตามลำดับ ซึ่งกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมตลาดจับตาความเคลื่อนไหว
เป้าหมายที่สำคัญต่อไปของดัชนีดอลลาร์อยู่ที่ 105 โดยมีแนวรับและแนวต้านระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม ทั้งนี้หากมีการร่วงลงที่คมชัดอาจเป็นการยืนยันว่าดอลลาร์เข้าสู่ช่วงขาลงแล้วและไม่ใช่เพียงแค่การปรับฐาน ในสถานการณ์สมมตินี้ ดัชนีดอลลาร์มุ่งไปที่พื้นที่ 90-100
ก่อนหน้านี้ก็มีให้เราเห็น โดยในช่วงปลายปี 2008 ซึ่งมีการเทขายออกอย่างมีนัยสำคัญในดอลลาร์และตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นยาว 3 เดือน อย่างไรก็ตาม อีกสิ่งหนึ่งที่ควรจำคือเดือนมีนาคม 2020 และ มีนาคม 2009 EUR ยังพลิกกลับต่อเนื่องจากแรงหนุนของการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้นแบบที่เราเห็นเมื่อสัปดาห์ก่อน
แหล่งข่าว Is dollar growth over? Likely so โดย Alex Kuptsikevich - FxPro senior market analyst