การยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะมีประโยชน์อย่างมากมาย และมีความจำเป็นต่อการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย แต่ก็อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ หากปฏิบัติไม่ถูกวิธี ดังนั้น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อจึงจำเป็นจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง และถูกต้องตามหลักการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

Name:  rrczzaxo22306.jpg
Views: 1254
Size:  54.1 KB

ชนิดของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปมี 4 วิธี
การเหยียดยืดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว (Dynamic หรือ Ballistic Stretching)
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบอยู่กับที่ (Static Stretching)
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีผู้ช่วย (Partner-assisted Static Stretching)
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบกระตุ้นระบบประสาท (Proprioceptive Neuromuscular Facilitation


หลักการสำคัญของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ควรทำการเหยียดยืดกล้ามเนื้ออย่างช้า ๆ โดยไม่ให้เกิดแรงกระชากต่อกล้ามเนื้อ
ควรทำด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เกร็งหรือตั้งใจทำมากเกินไป
ไม่ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อจนถึงความรู้สึกเจ็บ
ไม่ควรกลั้นลมหายใจ โดยหายใจเข้า-ออกช้า ๆ เป็นจังหวะ
ควรยืดเหยียดในองศาที่รู้สึกมีความตึงและสบายโดยค้างไว้ประมาณ 15 วินาทีหรือจนกว่ารู้สึกผ่อนคลาย


ข้อควรระวัง
ควรระมัดระวังผู้ป่วยที่มีกระดูกหัก กระดูกผุกร่อน (osteoporosis)
ไม่ควรออกแรงยืดรุนแรงและรวดเร็ว
หลีกเลี่ยงการยืดเนื้อเยื่อที่ยังมีอาการบวมอยู่


ข้อห้าม
มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ (bony block)
มีการอักเสบเฉียบพลันหรือการติดเชื้อ (ร้อน บวม) ในเนื้อเยื่อนั้นหรือบริเวณใกล้เคียง
มีอาการปวดเสียวเฉียบพลันในขณะทำการยืดเหยียด


ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก: https://sskm.sat.or.th/knowpost/37