การทำไม้ตัดเรือนยอด หรือ โพลลาร์ดดิง คือระบบการตัดแต่งต้นไม้โดยการตัดเรือนยอดต้นไม้ออกทุกๆ ปีเพื่อให้ต้นไม้มีความสูงคงที่ (ตัดเฉพาะกิ่งก้านย่อยออกเท่านั้น) [1] การตัดแต่งโดยวิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้ต้นไม้ออกกิ่งก้านไปทางข้าง ปกติจะทำที่ความสูง 2-3 เมตรจากระดับโคนต้น จากนั้นจะปล่อยให้กิ่งแตกออกมาใหม่ ซึ่งเมื่อตัดแต่งในลักษณะนี้แล้วจะต้องตัดแต่ง ณ บริเวณเดิมทุกปีเหมือนการตัดผมของคน บริเวณปลายกิ่งที่ถูกตัดทุกปีนั้นจะขยายตัวเป็นปุ่มโตขึ้นเป็นที่แตกกิ่งใหม่ที่มีจำนวนมากขึ้น การตัดแต่งกิ่งที่เดิมซ้ำทุกปีจึงเหมือนการตัดผมของคนหรือตัดเขาหรืองาของสัตว์ ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “polled” ซึ่งเป็นคำที่ใช้กับการตัดเขาแกะหรือกวางตัวผู้ที่เลี้ยงในฟาร์มต่างประเทศ

Name:  1024px-Pollarded_trees_in_Kilmaurs_Ayrshire.jpg
Views: 100
Size:  98.7 KB

ต้นไม้ที่ถูกตัดแต่งโดยวิธีนี้เรียกว่า "การตัดเรือนยอด" หรือ “โพลลาร์ด” (Pollard) แต่ต้นไม้ที่ถูกบั่นยอดแบบเดียวกันแต่ปล่อยให้แตกใหม่ไม่ตัดซ้ำทุกปี เรียกว่า “ไม้ตอฟืน” (coppice) มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า maiden tree หรือ “ไม้สาวโสด” การตัดเรือนยอดต้นไม้ หรือการทำโพลลาร์ดต้นไม้อายุมากหรืออายุน้อยแต่อ่อนแอมักทำให้ต้นไม้นั้นยืนต้นตาย (ไม่ตายทันทีแต่จะค่อยๆ ตายใน 1-2 หรือ 3 ปี โดยเฉพาะการตัดที่ไม่ยอมให้มีใบต่ำกว่าจุดตัดเหลือทิ้งไว้เป็นพี่เลี้ยงหรือตัวผลิตอาหาร (ซึ่งจะตัดออกเมื่อพุ่มใบเรือนยอดใหม่สมบูรณ์แล้ว) การตัดต้นไม้ผิดชนิดก็อาจทำให้ต้นไม้ตายได้เช่นกัน มีบ่อยครั้งมากที่มีการตัดเรือนยอดเพื่อคุมความสูงของต้นไม้ที่สูงหรือต้นไม้มีอายุที่ผิดวิธี ซึ่งทำให้เกิดผลเสียร้ายแรง การจัดการกับต้นไม้สูงด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักวิชารุกขกรรมสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายหรืออันตรายดังกล่าวนี้ได้

ไม้ตัดเรือนยอด (pollard trees) มีอายุยืนกว่าไม้สาวโสด หรือไม้ตอฟืนเพราะไม้ตัดเรือนยอดทำการตัดแต่งกันตั้งแต่เมื่อต้นไม้นั้นยังมีอายุน้อยและเมื่อตัดแต่งแล้วก็ยังมีน้ำหนักน้อย ต้นเตี้ย จึงไม่ถูกลมแรงตีพุ่มใบเสียหายมากเท่า โดยทั่วไปไม้ตัดเรือนยอดที่แก่แล้วมักมีลำต้นกลวงจึงไม่สามารถตรวจหาอายุได้แม่นยำมีอายุยืนที่แน่นอนได้กี่ปี ไม้ตัดเรือนยอดจะโตช้ากว่าไม้ตอฟืนและมีวงปีที่แคบกว่าเพราะโตช้า