เวชศาสตร์การกีฬา..สาขาวิชาที่คนรัก(การเล่น)กีฬาควรรู้จัก!

ถ้าพูดถึง “เวชศาสตร์การกีฬา” หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นวิชาที่เฉพาะสำหรับนักกีฬาอาชีพ แต่จริงๆ แล้วเวชศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนหนึ่งของวิชาออร์โธปิดิกส์ ที่ว่าด้วยเรื่องของการป้องกัน วินิจฉัย และรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รวมทั้งช่วยเสริมสมรรถภาพของนักกีฬาและคนธรรมดาทั่วไป เพื่อให้สามารถเล่นกีฬาได้ดีขึ้น

Name:  4Mc49yunu20160419100112.jpg
Views: 59
Size:  25.6 KB

ไหล่ เข่า...มีโอกาสเกิดอาการบาดเจ็บสูง
แม้ว่าในแต่ละกีฬาที่เล่นจะมีลักษณะอาการบาดเจ็บที่เฉพาะเจาะจงกันไป แต่ถ้าสังเกตง่าย ๆ ข้อไหล่และข้อเข่า..มักเป็นบริเวณที่เกิดอาการบาดเจ็บค่อนข้างสูงในแทบทุกกีฬา เพราะเจ็บ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน คือ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทันทีหลังเล่นกีฬาหรือเกิดการกระแทก โดยมีหลักการปฐมพยาบาลง่าย ๆ คือ RICE ซึ่ง R = rest (พัก) คือพักในส่วนที่บาดเจ็บหรือหยุดเล่นในทันที I = ice (น้ำเเข็ง) คือการนำน้ำแข็งมาประคบในส่วนที่บาดเจ็บทันที C = compression (รัด) คือการหาผ้ามารัด และ E = elevation (ยก) คือยกส่วนที่บาดเจ็บนั้นให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้บวมมากขึ้น

กลุ่มอาการบาดเรื้อรัง คือ เกิดจากการละเลยบางส่วนของร่างกาย ทำให้เกิดการเสียสมดุล โดยกลุ่มอาการบาดเจ็บเรื้อรังนั้น ทำการรักษายากกว่าอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน
ประเมินอาการบาดเจ็บ...เพื่อเลือกวิธีรักษา
ในขั้นตอนการรักษา แพทย์จะทำการพูดคุยกับคนไข้เพื่อพิจารณาดูว่า..คนไข้มีข้อบ่งชี้ที่ต้องผ่าตัดหรือไม่? กรณีที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด คนไข้ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง เช่น ไม่เล่นกีฬาในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่มเติม ระหว่างนั้นอาจมีการทำกายภาพบำบัดและฝึกกล้ามเนื้อเพื่อรักษาสภาพกล้ามเนื้อของตนเอง ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

สำหรับกลุ่มคนไข้ที่ไม่สามารถกลับมาเล่นกีฬาบางประเภทได้อีก อาจมีการเล่นกีฬาประเภทอื่นที่ไม่กระทบต่ออาการบาดเจ็บเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ส่วนกลุ่มต้องที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด หลังจากผ่าตัด...ควรมีการดูแลด้านร่างกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีการใช้งานได้ใกล้เคียงเหมือนปกติ

การผ่าตัดส่องกล้อง..อีกทางเลือกที่ดีกว่า
การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เป็นนวัตกรรมที่มีมาหลายปี ในปัจจุบันข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดส่องกล้องแต่ละส่วนของร่างกายมีการขยายไปมากขึ้นด้วยวิวัฒนาการและเทคโนโลยี รวมถึงประสบการณ์ความชำนาญของแพทย์แต่ละท่าน ทำให้ช่วงนี้เป็นการผ่าตัดทางเลือกแรกของคนไข้ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ไม่ต้องเปิดแผลใหญ่

เพราะการผ่าตัดส่องกล้องจะใช้การเจาะรู ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื้อระหว่างทางที่จะเข้าไปซ่อมแซมน้อยลง รวมทั้งลดพังผืดในบริเวณที่ผ่าตัด และการทำกายภาพหลังการผ่าตัดส่องกล้องสามารถทำได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล ตลอดจนอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ด้วยข้อดีเหล่านี้..ทำให้การผ่าตัดส่องกล้องเป็นการรักษาที่มาตรฐานและได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ป้องกันการบาดเจ็บ..ด้วยเทคนิคนี้
วอร์มอัพ (Warm Up) คือ สิ่งที่เราควรทำทุกครั้งก่อนการเล่นกีฬา โดยการวอร์มอัพ (Warm Up) จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที อาจเป็นการวอร์มอัพด้วยการวิ่งเบา ๆ เพื่อให้เหงื่อซึม เพราะเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น 1 องศา จะทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บได้

สเตรทชิ่ง (Stretching) คือ การเหยียด ยืด กล้ามเนื้อ ก่อนการเล่นกีฬาเพื่อป้องกันการเกิดอาการบาดเจ็บ


ผศ.นพ.ณัฏฐา กุลกำม์ธร
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อด้านเวชศาสตร์การกีฬา
ที่มา: https://www.phyathai.com/article_det...B8%B1%E0%B8%81!!