วิทยุสมัครเล่น คือ งานอดิเรกอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารด้วยการส่งคลื่นวิทยุ มีกิจกรรมประกอบด้วย การศึกษาเชิงเทคนิคเกี่ยวกับวิทยุและการติดต่อสื่อสาร และการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเพื่อการศึกษา การทดลอง การให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน การพักผ่อนหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า ham
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Radio Amateur Society of Thailand (RAST)
นับจากก่อตั้งมา ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ [2]
โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"
ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร
"กิจการวิทยุสมัครเล่น" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ "นักวิทยุสมัครเล่น" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย
ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลง "สัญญาณเรียกขานนักวิทยุอาสาสมัคร" เป็น "สัญญาณเรียกขานนักวิทยุสัมคเล่น" จาก VR ... เป็น HS ... ให้เป็นไปตามสากลกำหนด ซึ่ง ITU กำหนดให้ประเทศไทยใช้ " HS " โดยมีนายศรศิลป์ คล่องแคล่ว ซึ่งขณะนั้นก็ได้เป็นนักวิทยุอาสาสมัคร เป็นผู้ออกแบบ วางแผนในการจัดสรรระบบสัญญาณเรียกขานให้แก่นักวิทยุอาสาสมัครในสมัยนั้น ประมาณ 3 พันกว่าคน กระจายอยู่ทั่วประเทศ พร้อมได้แบ่งเขตสถานีควบคุมข่ายทั่วประเทศเป็น 10 โซน และกำหนดสัญญาณเรียกขานให้สถานีควบคุมข่ายแต่ละโซน เป็น HS1 ... / HS2 ... / HS3 ... / HS4 ... / HS5 ... / HS6 ... / HS7 ... / HS8 ... / HS9 ... เช่น นายศรศิลป์ฯ เดิมใช้สัญญาณเรียกขาน VR728 ต่อมาได้เทียบสัญญาณเรียกขานให้เป็นสากลตามลำดับเลขรหัส VR เป็น HS1YI อ่านว่า "โฮเตล เชียร์ล่า วัน วาย ไอ หรือ โฮเตล เชียร์ล่า วัน แยงกี้ อินเดีย) ซึ่งสากลจะเป็นสัญญาณเรียกขานที่ใช้ติดตัวจนตาย (นิจนิรันดร์) แต่ถูกคนรุ่นใหม่ที่ทำหน้าที่สืบต่อมาในยุค กสทช. ยกเลิกไม่ให้ใช้ ข้อเท็จจริงควรสงวนไว้ให้เป็นเกีรยติประวัติแก่คนที่มีส่วนในการiพัฒนาในกิจการวิทยุสมัครเล่นสืบไป โอกาสต่อมาได้มีส่วนร่วมคัดสรรและเป็นคนลงทะเบียนสัญญาณเรียกนักวิทยุสมัครเล่น HS1A ถวายแด่ VR009 ต่อผู้บริหาร อันประกอบด้วยนายมนัส ทรงแสง หัวหน้าฝ่ายช่าง นายไกรสร พรสุธี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารความถี่วิทยุ และอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ตามลำดับ ิเพื่อถวายเป็นพระเกีรยติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และได้มีการออกใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่น เป็นครั้งแรกในปี 2531 ตั้งแต่มีการตรา พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 โดยมีนายศรศิลป์ คล่องแคล่ว เป็นผู้ออกแบบใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น ซึ่งกำหนดให้มีขนาดเล็กเท่ากับบัตร ATM และมีรหัสลับแต่ใช้วัสดุเป็นกระดาษ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งต้องสนองนโยบายแบบเร่งรัด และไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ เสนอขอความเห็นชอบผ่านนายไกสร พรสุธี ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารความถี่วิทยุ (ตำแหน่งราชการก่อนเกษียณ ปลัดกระทรวงคมนาคม และปลัดกระทรวง ICT รองเลขาธิการ APT) เสนออธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข จนได้รับการอนุมัติ และใช้ต่อสืบมาถึงปัจจุบัน และมีการพัฒนาเป็นบัตรสมาร์ทการ์ด