เพราะระบบเบรคลมไม่จำเป็นต้องไล่ลม
เนื่องจากรถบรรทุกหรือรถใหญ่ๆต้องมีการต่อพ่วงชุดเทรลเลอร์ข้างหลัง ซึ่งต้องพ่วงและถอดเข้าออกเป็นประจำ โดยชุดเทรลเลอร์ที่ต่อพ่วงนี้ก็จะมีชุดเบรค(ลม) ถังเก็บลมและชุดห้ามล้อ ติดมาเป็นของตัวเอง ดังนั้นเมื่อต้องต่อเชื่อมกับตัวหัวเก๋ง ก็ต้องต่อเชื่อมกับชุดเบรคหลักของตัวหัวเก๋งด้วย ซึ่งเมื่อเชื่อมระบบก็ต้องมีการไล่ลมถ้าเป็นระบบเบรคน้ำมันและการไล่ลมค่อนข้างจะต้องใช้เวลาและอุปกรณ์ รวมถึงต้องกระทำทีละล้อ แต่ถ้าเป็นเบรคลมก็ไม่ต้องมีการไล่ลม
อ้างอิงระบบเบรคมาจากรถไฟ
เพราะรถไฟก็ต้องมีการต่อพ่วงเพื่อเพิ่มหรือลดโบกี้บ่อยครั้ง โดยแต่ละโบกี้ก็จะมีชุดเบรคแยกของตัวเองเช่นกัน ดังนั้น เมื่อเริ่มมีการผลิตรถบรรทุก จึงนำระบบเบรคลมจากรถไฟมาใช้
ความสามารถในการกักเก็บพลังงานของอากาศ
อากาศหรือลมเบรคสามารถกักเก็บพลังงานในรูปแบบของความดันได้ แต่ถ้าเป็นเบรคน้ำมันนั้นทำไม่ได้ เพราะระบบเบรคน้ำมันจะไม่มีการใส่ความดันหรือแรงเบรคเข้าไปในระบบน้ำมันจนกว่าจะมีการสั่งเบรค ในขณะที่เบรคลมจะกักเก็บพลังงานเป็นความดันในถังเก็บลมที่พร้อมเรียกใช้งาน การแตะเบรคของคนขับเป็นเพียงการส่งสัญญาณให้ระบบเบรคลมปล่อยลมจากถังเก็บ (ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากล้อ) แล้วส่งแรงดันลมเบรคไปที่ล้อเท่านั้น (ถ้าเป็นระบบเบรคน้ำมัน การแตะเบรคคือการส่งแรงดันน้ำมันเบรคระบบเบรคโดยตรง)
ดังนั้น ด้วยความสามารถในการกักเก็บพลังงานของลมเบรคนี่เอง เมื่อระบบเบรคลมไม่ทำงานหรือมีลมไม่เพียงพอ ผลก็คือรถจะหยุดเพราะระบบเบรคฉุกเฉินจะทำงาน ต่างจากระบบเบรคน้ำมัน เมื่อระบบเบรคไม่ทำงาน ผลก็คือการเบรคไม่อยู่ ซึ่งถ้าเป็นรถใหญ่ๆถือว่าค่อนข้างอันตรายมากๆเลยทีเดียว
โดยการเบรคของรถที่ใช้ระบบเบรคลมมี3รูปแบบดังนี้
- Service brake คือเบรคที่ใช้ระหว่างขับรถปกติระหว่างขับรถ
- Parking brake เบรคที่ใช้เมื่อจอดหรือเบรคที่ใช้เพื่อการจอดหลังดับเครื่องแล้ว
- Emergency brake เบรคฉุกเฉินที่จะทำงานเมื่อลมเบรคในระบบต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ เพื่อให้รถหยุดทันที เพราะการที่ไม่มีลมเบรคในระบบเพียงพอก็คือการไม่สามารถใช้งาน Service brake เพื่อควบคุมรถระหว่างขับได้ ระบบเบรคฉุกเฉินจึงออกแบบมาด้วยเหตุผลนี้
นอกจากนี้ระบบเบรคของรถบรรทุกหรือรถใหญ่ๆยังมีระบบเบรคไอเสีย และ Jake Brake เสริมเพื่อช่วยในการหยุดรถเพื่อลดภาระของระบบเบรคลมอีกทางหนึ่งด้วย
ที่มา: https://topspeedtraining.wordpress.c..._for_airbrake/