การออกกำลัง สำหรับคนวัยต่าง ๆ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

Name:  48.jpg
Views: 103
Size:  66.1 KB

1. วัยเด็กก่อนวัยอนุบาลควรปล่อย เล่นตามใจชอบการกระโดด วิ่ง ปีนป่ายเป็นวิธีธรรมชาติสำหรับส่งเสริมการเติบโต ผู้ใหญ่คอยแต่ระวังอันตราย เด็กที่ไม่ชอบเล่นควรชักจูงและกระตุ้นให้ออกกำลังบ่อย ๆ จนเปลี่ยนนิสัยได้(อายุ 13 ปีขึ้นไป) ควรแยกระหว่างชายกับหญิงเพราะความแตกต่างระหว่างเพศ เริ่มปรากฎชัดเจน เด็กหญิงควรเล่นกีฬาที่ส่งเสริมทรวดทรงให้สวยงาม การเคลื่อนไหวนุ่มนวลชดช้อยนาฎศิลป์ (เป็นการออกกำลังแบบหนึ่ง) ของ ไทยเรามีประโยชน์ในเรื่องนี้ไม่แพ้บัลเล่ต์ของฝรั่ง หรือการเต้นรำปลายเท้า กีฬาของเด็กชายบางอย่างก็ใช้ได้สำหรับเด็กหญิง บางอย่างก็ไม่ เหมาะสม เช่น ฟุตบอล ตะกร้อ นอกจากไม่เหมาะในเรื่องความงดงามทางจิตใจแล้ว ยังอาจทำอันตรายต่อสุขภาพ

2. วัยหนุ่มสาว (อายุ 18-25 ปี) ระยะนี้เป็นเวลาที่สมรรถภาพทางกายดีที่สุด การออกกำลังกายจะใช้วิธีใดก็ได้ทั้งนั้น แต่พึงระวังไม่ให้มากเกิน หรือหนักไป

3. วัยผู้ใหญ่หรือวัยฉกรรจ์ (อายุ 26-35 หรือ 40 ปี) ครึ่งระยะเวลาแรกร่างกายกำลังแข็งแกร่งเต็มที่ พ้นจากนั้นแล้ว ก็เริ่มเสื่อม ในระยะ แข็งแกร่งจะเล่นกีฬาอะไรก็ได้ รวมทั้งกีฬาแข่งขันต่าง ๆ แต่ในระยะหลัง ต้องลดความหนักลงและงดการ แข่งขันในประเภทหนักมาก ๆ

4. วัยกลางคน (อายุ 35 หรือ 40-45 ปี) วัยนี้กำลังความคิดสูงเต็มที่ แต่สมรรถภาพทางกายและกำลังลดลงเรื่อยๆ ผู้ที่เคยออกกำลังมาก่อนแล้วพึงระลึกถึงความจริงข้อนี้ มิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายเนื่องจากออกกำลังหนักเกินไป เพรา ะคิดว่ายังแข็งแรงเช่นแต่ก่อน

5. วัยสูงอายุ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) เมื่ออายุย่างเข้าขั้นนี้ความตกต่ำของร่างกายมักปรากฎชัดเจน แต่ยังออกกำลังได้ และจำเป็นต้องออกกำลังเพื่อรักษาสภาพและ "ชะลอชรา" การออกกำลังและกีฬาจำเป็นต้องกำหนดเป็นพิเศษ ให้เหมาะกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกาย มีข้อที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ

(1) หลีกเลี่ยงการแข่งขันแม้แต่ฉันมิตร ยกเว้นผู้ที่เคยแข่งขันติดต่อมาตั้งแต่ยังหนุ่ม

(2) หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่มีการแบ่งหรือออกแรงหนักอย่างกะทันหัน

(3) หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องใช้ความเร็วสูง

(4) หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักและติดต่อเป็นเวลานาน

บทความคุณภาพจาก .. http://www.todayhealth.org/