การFlush น้ำมันเกียร์นั้นมีอยู่ 2 แบบดังนี้

Flush โดยใช้เครื่อง Cooler line inlet flush

วิธีนี้จะต่อท่อเครื่อง Flush เข้ากับท่อ Cooler ของเกียร์ แล้วทำการStart รถติดเครื่องเพื่อให้ปั๊มน้ำมันเกียร์ของรถทำงาน น้ำมันเกียร์เก่าในระบบเกียร์จะวิ่งเข้าเครื่อง Flush และเครื่อง Flush ก็จะส่งน้ำมันเกียร์ใหม่เข้าระบบไปแทน แต่เนื่องจากวิธีนี้ใช้ปั๊มน้ำมันเกียร์ในการสร้างแรงดันในระบบให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำมันเกียร์ ซึ่งโดยปกติน้ำมันเกียร์ที่ผ่านปั๊มน้ำมันเกียร์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 วงจรความดันด้วยตัว pressure regualator วงจรแรกน้ำมันเกียร์จะวิ่งผ่านชุดเกียร์ต่างๆดันกระบอกสูบเพื่อใช้ในการเปลี่ยนเกียร์ อีกวงจรน้ำมันเกียร์จะวิ่งผ่าน Torque converter กับท่อ Cooler ที่ต่อกับเครื่อง Flush แต่เนื่องจากวิธีนี้จะไม่มีการถอดอ่างน้ำมันเกียร์และกรองน้ำมันเกียร์ออก ดังนั้น น้ำมันเกียร์ที่ Flush ด้วยวิธีนี้จะไม่ใช่การเอาของเก่าออกทั้งหมดแล้วใส่ของใหม่เข้าไป แต่เป็นการเอาน้ำมันเกียร์ที่อยู่ใน Torque converter กับท่อ Cooler ออกแล้วเติมน้ำมันเกียร์ใหม่เข้าสู่ระบบโดยจะลงที่อ่างน้ำมันเกียร์ปนกับน้ำมันเกียร์เก่า ถือเป็นการเจือจางน้ำมันเกียร์เก่าให้ค่อยๆเป็นน้ำมันเกียร์ใหม่ ถึงแม้วิธีนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ได้ทั้งหมด แต่ก็สามารถเอาน้ำมันเกียร์เก่าออกได้มากกว่าการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ด้วยวิธีปกติ
อีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือ เพราะการ Flush ด้วยวิธีนี้ ไม่มีการถอดอ่างน้ำมันเกียร์และกรองน้ำมันเกียร์ ส่งผลให้น้ำมันเกียร์ที่ Flush เพื่อชะตะกอนหรือสิ่งสกปรกต่างๆนั้นก็จะไปตกอยู่อ่างน้ำมันเกียร์ก่อนจะไปติดสะสมอยู่ที่กรองน้ำมันเกียร์ โดยที่กรองน้ำมันเกียร์จะติดตั้งอยู่ก่อนท่อดูดของปั๊มน้ำมันเกียร์ ดังนั้น มีโอกาสที่กรองจะตันได้เร็วขึ้นหลังจากการ Flush ด้วยวิธีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ปั๊มน้ำมันเกียร์ไม่สามารถปั๊มน้ำมันเกียร์ส่งเข้าชุดเกียร์ได้ เกียร์ก็อาจจะเกิดอาการเกียร์สลิป หรืออาการเกียร์รวนอื่นๆต่อไป นอกจากนี้ การ Flush ด้วยวิธีนี้ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบสภาพและปริมาณของตะกอนต่างๆที่ตกค้างที่อ่างน้ำมันเกียร์ได้อีกด้วย

Name:  cooler-line-flush-machine-robinair_com.jpg
Views: 143
Size:  27.1 KB

Flush โดยใช้เครื่อง Pump inlet flush

วิธีนี้จะต้องทำการถอดอ่างน้ำมันเกียร์และกรองออก แล้วต่อท่อของเครื่อง Flush เข้ากับท่อทางดูดของปั๊มน้ำมันเกียร์ แล้วปั๊มของเครื่อง Flush จะทำการใส่น้ำมันเกียร์ Flush น้ำมันเกียร์เก่าออกมาทิ้งแล้วใส่น้ำมันเกียร์ใหม่เข้าไปทั้งหมดโดยไม่มีการเจือจางเหมือนการ Flush โดยใช้เครื่อง Cooler line inlet flush เนื่องจากวิธีนี้ต้องถอดกรองและอ่างน้ำมันเกียร์อยู่แล้ว จึงทำให้สามารถตรวจสอบสภาพและปริมาณของตะกอนต่างๆที่ตกค้างที่อ่างน้ำมันเกียร์ได้ รวมถึงได้ทำการเปลี่ยนกรองน้ำมันเกียร์ตัวใหม่ แต่จุดที่ควรระวังก็คือ อู่บางอู่จะทำการ Flush โดยใส่สารฟอกหรือกัดตะกอนเสริมเข้าไปในการ Flush ด้วย สำหรับรถยนต์ที่ใช้งานมาได้นานระยะหนึ่งแล้วก็จะเป็นการขจัดตะกอนเล็กๆที่ติดตามซีลต่างๆที่ช่วยซีลหรืออุดช่องว่างจากการสึกหรอหลุดออกมาทั้งหมด ซึ่งไม่เป็นผลดี
ถึงแม้ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงและไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ว่าการ Flush น้ำมันเกียร์นั้นจริงๆควรทำหรือไม่ แต่ถ้าพบว่าน้ำมันเกียร์มีสภาพเหม็นไหม้ ดำหรือเก่า เสื่อมสภาพมากเนื่องจากไม่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์มานาน สันนิษฐานได้ว่าอาจเริ่มมีชิ้นส่วนที่สึกหรอหรือได้รับการเสียหาย ไม่แนะนำให้ Flush เด็ดขาด เพราะยิ่งจะเป็นการทำให้ชิ้นส่วนที่สึกหรอนั้นยิ่งเสียหาย เกียร์จะรวนยิ่งกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามสำหรับเจ้าของรถที่ตัดสินใจจะ Flush อย่าลืมตรวจสอบกับช่างด้วยว่าทำการ Flush ในทิศทางการไหลเดียวกับการไหลเวียนน้ำมันเกียร์ในระบบหรือไม่ เพราะถ้า Flush ย้อนทิศทางจะทำให้ตะกอนต่างๆ หลุดไปขัดไปบล็อคในบริเวณท่อที่แคบๆหรือ One way valve ได้
ที่สำคัญไม่ว่าจะ Flush หรือไม่ ถ้าเจ้าของรถหมั่นตรวจสภาพและดูแลรักษาน้ำมันเกียร์ให้เหมาะสมอยู่เสมอ รวมไปถึงใช้งานเกียร์ที่ตรงกับรุ่นรถอย่างถูกต้อง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์, กรอง และถอดอ่างน้ำมันเกียร์ออกมาตรวจสอบอยู่อย่างเสมอ(ในกรณีที่ทำได้)ก็เป็นการช่วยยืดอายุได้มากโขแล้ว

ที่มา: https://topspeedtraining.wordpress.c...8%a3%e0%b9%8c/