สำหรับเรื่องการออกกำลังกายนั้น หลายคนก็จะมีเหตุผลที่จะมาออกกำลังกายที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงง เป็นต้น แต่สำหรับหัวข้อนี้ เราจะสนใจเรื่องความแตกต่างกันของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ โดยคนที่ออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อจะเน้นการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น ถ้าต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อส่วนต้นแขนก็จะออกกำลังกายเน้นเฉพาะส่วนช่วงต้นแขนเท่านั้น โดยจะมีหลายวิธีการออกกำลังกายที่จะเพิ่มกล้ามเนื้อได้ขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบส่วนบุคคล แต่สำหรับคนที่จะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักจะเน้นว่าวิธีการใดจะให้น้ำหนักลดลง โดยมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนัก เช่น การควบคุมอาหาร การดำเนินชีวิต การควบคุมความเครียด และการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายจะช่วยการเผาผลาญพลังงานที่ต้องการลดน้ำหนักประมาณ 300 - 400 กิโลแคลอรี/วัน หรือ 1000 - 2000 กิโลแคลอรี/สัปดาห์ โดยจะต้องออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ หรือทุกวัน และใช้เวลาการออกกำลังกายประมาณ 40-60 นาที/วัน หรือแบ่งช่วงการออกกำลังกายออกเป็นสองช่วง คือ ช่วงเช้า 20 - 30 นาที และช่วงเย็น 20 – 30 นาที เพื่อเผาผลาญพลังงาน สำหรับคนที่เล่นกีฬาไม่เป็น ต้องเลือกเล่นกิจกรรมง่าย ๆ ก่อน และสำหรับคนที่มีพื้นฐานหรือทักษะทางด้านกีฬา สามารถเลือกเล่นกีฬาตามความชอบของตนเองได้
เรื่องที่สำคัญที่สุดของการออกกำลังกายอีกอย่างหนึ่ง คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเราจะสามารถเลือกประเภทหรือรูปแบบของการออกกำลังกายได้ตามที่ตนเองชอบ มันจะทำให้เรารู้สึกสนุกกับการเล่นกีฬา แถมยังจะทำให้เราสามารถเล่นกีฬาได้เป็นเวลานานอีกด้วย และขึ้นอยู่กับประสบการณ์ โอกาส อุปกรณ์ และสถานที่ที่สะดวกต่อการออกกำลังกาย สำหรับการเล่นกีฬาควรเริ่มจากช้า ๆ เบา ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาและความหนักของการเล่นกีฬามากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาด้านความเจ็บปวด และยังสามารถเปลี่ยนการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาได้หลายรูปแบบ หรือปม้กระทั่งการทำงานบ้าน การทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดิน ควรจะเดินแบบกระฉับกระเฉงและหนักหน่วง ไม่ใช่การเดินเรื่อยๆ สบายๆ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : si.mahidol.ac.th