นักกีฬาบางคนทรมานจากการเสพติดการออกกำลังกายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุทั้งการยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตทางด้านอื่นๆ และรู้สึกติดเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากการออกกำลังกาย
ในบางราย การหมกมุ่นกับการออกกำลังกายเป็นผลจากโรคทางการกินในรูปแบบที่ชัดเจน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะควบคุมหรือลดน้ำหนัก หรือเพื่อให้ได้รูปร่างที่ต้องการการติดการออกกำลังกายอาจใช้การฝึกอย่างหนักหน่วงเป็นการเผาผลาญพลังงานและคงระดับน้ำหนักหรือลดน้ำหนักเพื่อเพิ่มสมรรถภาพ หรือเพื่อให้ได้รูปร่างหรือน้ำหนักตามที่ต้องการ พวกเขามักจะหาเหตุผลให้กับพฤติกรรมของตนโดยใช้ความเชื่อที่ว่าจะไม่มีการฝึกหนักเกินไปหรือนานเกินไปสำหรับนักกีฬาที่จริงจัง ความไม่สบายตัว อาการเจ็บปวด หรือแม้แต่การบาดเจ็บจะไม่สามารถหยุดยั้งผู้เสพติดการออกกำลังกายไม่ให้ฝึกได้
ผู้เสพติดการออกกำลังกายเกือบทุกคนจะมีภาวะ overtraining syndrome (การออกกำลังกายที่หนักเกินกว่าร่างกายจะฟื้นตัวได้ทัน) พวกเขามักมีกล้ามเนื้อเกร็งปวดกล้ามเนื้อ กระดูกหักชนิด stress fracture และการบาดเจ็บเรื้อรังจากการใช้งานหนักเกินไป เช่น เส้นเอ็นอักเสบ (tendinitis) เมื่อจี้ถามเกี่ยวกับเรื่องการออกกำลังกายอย่างหักโหม พวกเขาอาจยืนยันว่าหากไม่ฝึกหนักขนาดนี้ จะเล่นได้ไม่ดี พวกเขายังมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับความเชื่อผิดๆ ว่าการพักการฝึกแม้แต่เพียงเล็กน้อยจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและจะไม่สามารถกลับไปแข่งขันที่ระดับเดิมได้อีก
ผู้เสพติดออกกำลังกายหายคนมีพฤติกรรมคล้ายกับผู้ติดยาเสพติด นักกีฬาจะไม่เกิดความพึงพอใจจากการออกกำลังกายอีกต่อไป แต่จะรู้สึกว่าเป็นความจำเป็นการออกกำลังกายไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นภาระหน้าที่ในขณะที่การออกกำลังกายอาจช่วยให้มีความรู้สึกเป็นสุข (euphoria) ได้ชั่วคราว แต่ผู้ติดการออกกำลังจะต้องการการออกกำลังกายที่มากยิ่งขึ้นไปเพื่อให้เกิดความสุขดังกล่าว หากเขาถูกบังคับให้หยุดฝึก เขาจะรู้สึกผิดมากและมีความวิตกกังวล คล้ายกับอาการถอนยา (withdrawal symptoms)
แม้ว่านักวิจัยบางคนรายงานว่า การออกกำลังกายอย่างหนักทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมน endorphin (ฮอร์โมนที่สร้างโดยต่อมพิทูอิตารีที่ระงับความเจ็บปวดลดความกังวลและสร้างความรู้สึกเป็นสุข) ก็ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าคนจะสามารถติดการออกกำลังกายได้จริงหรือไม่ endorphin มีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกับมอร์ฟีนมาก ดังนั้น การเสพติดการออกกำลังกายจึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้สำหรับนักกีฬาหลายคน การออกกำลังกายอย่างซ้ำๆ ดูจะเป็นการเสพติดทางร่างกายและยังรายงานอีกว่าการลดการออกกำลังกายทันทีจะทำให้เกิดช่วงที่ซึมเศร้าอย่างรุนแรง
สัญญาณเตือนของการออกกำลังกายอย่างย้ำทำ
คุณมีอาการของการฝึกหนักมากเกินไปจนร่างกายฟื้นตัวไม่ทัน
คุณฝืนตัวเองให้ออกกำลังกายแม้ว่าจะไม่สบาย
คุณแทบจะไม่เคยออกกำลังกายเพื่อความสนุก
ทุกครั้งที่คุณออกกำลังกาย คุณทำอย่างหนักที่สุดหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
คุณมีความเครียดและความกังวลอย่างมากหากคุณขาดการฝึก
คุณเพิกเฉยต่อภาระครอบครัวเนื่องจากคุณต้องออกกำลังกาย
คุณคำนวณว่าจะต้องออกกำลังกายมากแค่ไหน ซึ่งขึ้นกับว่าคุณกินมากแค่ไหน
คุณอยากออกกำลังกายมากกว่าจะไปกับเพื่อน
คุณไม่สามารถผ่อนคลายได้เนื่องจากคิดว่าคุณไม่ได้เผาผลาญพลังงาน
คุณกังวลว่าคุณจะน้ำหนักขึ้นหากหยุดออกกำลังกายไปวันเดียว
การออกกำลังกายแบบย้ำคิดย้ำทำมีอันตรายพอๆ กับการอดอาหาร การล้วงคอให้อาเจียน และการใช้ยาลดน้ำหนักและยาระบาย และยังสามารถนำไปสู่โรคทางการกินที่ผิดปกติร้ายแรง เช่น anorexia และ bulimia เช่นเดียวกับปัญหาทางกายที่ร้ายแรง เช่น ไตวาย หัวใจขาดเลือด และการเสียชีวิต
หาความช่วยเหลือ-การรักษา
การเสพติดการออกกำลังกายและความผิดปกติทางการกินอื่นๆ เป็นเรื่องร้ายแรงและสามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้หากปล่อยไว้ไม่รักษา การระบุประเภทของความผิดปกติทางการกินเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้อง คู่มือแนะนำโรคของความผิดปกติในการกินของ About.com จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการฟื้นตัวของโรค
ที่มา: https://www.honestdocs.co/are-you-ob...-with-exercise