Name:  insurancee1.jpg
Views: 91
Size:  84.1 KB

อย่าหลงเชื่อ โบรกเกอร์ที่โทรมาแจ้งสิทธิโปรโมชั่นให้ชำระค่ามัดจำเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการล็อคเรตเบี้ยประกันก่อนจะปรับโครงสร้างราคาในปีต่อไป เนื่องจากค่าเบี้ยประกันภัยไม่จำเป็นต้องจ่ายก่อนล่วงหน้านานหลายเดือน เพราะค่าเบี้ยประกันจะคำนวณจากประวัติการเคลมของเราทั้งปี ดังนั้นการจ่ายค่ามัดจำก่อนไม่ได้เป็นการการันตีค่าเบี้ยประกันภัยแต่อย่างใด การต่ออายุและชำระเบี้ยประกันภัยก่อนหมดอายุล่วงหน้าเพียงหนึ่งเดือนก็เพียงพอแล้วที่จะให้เกิดการคุ้มครองประกันภัยอย่างต่อเนื่อง

เมื่อบริษัทประกันจ่ายค่าเสียหายให้แล้ว ควรระมัดระวังในการเซ็นต์เอกสารให้ดี บริษัทประกันบางรายที่ฉ้อฉลเมื่อจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตาม กธ.พรบ.ให้กับผู้เสียหายแล้ว ก็จะให้ผู้เสียหายเซ็นต์หนังสือสัญญาตกลงประนีประนอมยอมความโดยที่ผู้เสียหายรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งเนื้อความในหนังสือจะระบุว่าผู้เสียหายพึงพอใจในค่าเสียหายที่ได้รับแล้วและจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดเพิ่มเติม ไม่ติดใจเอาความทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาอีกต่อไป ซึ่งความเป็นจริงผู้เสียหายยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องจากผู้ที่ทำให้เราเสียหายได้อีกตามกฎหมายการละเมิด หรือมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยในค่าเสียหายตามกรมธรรม์ภาคสมัครใจเพิ่มอีก แต่ถ้าผู้เสียหายไปเซ็นต์หนังสือดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นการสละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายอื่นๆที่เราควรได้รับเพิ่ม เช่น การที่ผู้เสียหายได้รับเงินเป็นค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว5หมื่นบาท ซึ่งถือว่าเต็มวงเงินสูงสุดของพรบ.แล้ว แต่ผู้เสียหายยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอื่นเพิ่มอีก เช่น ค่าขาดรายได้จากการทำงานเพราะบาดเจ็บ ค่ารักษาต่อเนื่อง ซึ่งอาจเรียกได้เป็นเงินถึง 1แสน-1ล้านบาท ตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับสมควรแก่ฐานะ หรือตามสมควรแก่เหตุการณ์ ของผู้เสียหายแต่ละคน

แจ้งเคลมทุกครั้งต้องมีคู่กรณี เพราะหากเราไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ หรือระบุไม่ชัดเจน ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก ในกรณีที่เฉี่ยวชนกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เสาไฟฟ้า รั้วบ้าน ก็เช่นกัน ก็ให้ถือว่า เสาไฟฟ้า รั้วบ้าน ให้ถือว่ารั้วบ้านและเสาไฟฟ้าคือคู่กรณีในการแจ้งแคลม ห้ามแจ้งเคลม โดยการระบุความเสียหายที่มีที่มาไม่ชัดเจนเด็ดขาด เช่น จอดรถไว้หน้าบ้านแล้วถูกมอเตอร์ไซต์เฉี่ยวแล้วขี่หนีไปเลย ถ้าแจ้งแบบนี้ต้องเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันในการตามตัวคู่กรณีกลับมาให้ได้ มิฉะนั้น ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก


ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเคลมประกันที่สุดคือช่วงไหน หลังจากที่คุณได้ทำเรื่องต่อประกันภัยล่วงหน้า 1-2 เดือนก่อนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ และคุณชำระเบี้ยประกันของกรมธรรม์ปีถัดไปเรียบร้อยแล้ว ช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเคลมประกัน เนื่องจากบริษัทประกันภัยได้ทำการสำรวจรถและตรวจสอบประวัติการขับขี่ของคุณจนเสร็จสิ้น จึงมอบส่วนลดประวัติการขับขี่ดี(ถ้ามี)ให้กับคุณ พร้อมกับเสนอราคาเบี้ยประกันภัยที่ราคาถูกลง ดังนั้นการเคลมของคุณหลังจากทำเรื่องต่อประกันภัยของปีต่อไปแล้วจึงไม่มีผลต่อค่าเบี้ยประกันของปีต่อไปอย่างแน่นอน

การต่อประกันผ่านบริษัทประกันโดยตรงก็ไม่แน่ว่าจะได้ค่าเบี้ยประกันถูกกว่า ผมพบว่ามีโบรกเกอร์ประกันภัยหลายบริษัทที่สามารถเสนอเบี้ยประกันในราคาที่ใกล้เคียงกับที่เราทำการต่อประกันผ่านบริษัทประกันภัยโดยตรง นอกจากนี้การต่อประกันผ่านบริษัทประกันโดยตรงบางครั้งอาจจะค่อนข้างยุ่งยากเพราะเราต้องดำเนินการจัดส่งเอกสารหลายๆอย่างเอง แต่การต่อประกันผ่านโบรกเกอร์จะมีเซลล์หรือ จนท.มาช่วยดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆแทนเรา

พิจารณาบริการเสริมและโปรโมชั่นต่างๆของโบรกเกอร์ประกันภัย การต่อประกันภัยผ่านโบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะมีบริการเสริมและโปรโมชั่นต่างๆ เช่น รถใช้ระหว่างซ่อม บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง ตลอดไปจนถึงการการันตีราคาเบี้ยประกันที่กล้าคืนส่วนต่างหากพบว่าที่อื่นค่าเบี้ยถูกกว่าอีกด้วย ซึ่งต่างจากการต่อประกันผ่านบริษัทประกันโดยตรงที่แทบไม่ได้บริการเสริมและโปรโมชั่นเหล่านี้เลย รวมไปถึงการเช็คค่าเบี้ยของบริษัทประกันต่างๆที่สามารถเช็คออนไลน์ได้ด้วยตัวเองเพียงไม่กี่วินาทีเมื่อเช็คผ่านโบรกเกอร์ แต่ต่างกับการเช็คค่าเบี้ยผ่านบริษัทประกันต่างๆโดยตรงที่เราสามารถเช็คได้ทีละบริษัทและค่อนข้างยุ่งยาก

เช็คเบี้ยประกันออนไลน์ เปรียบเทียบบริษัทประกันภัยชั้นนำต่างๆเพียงไม่กี่วินาที เพียงคลิกที่นี่

ที่มา: https://topspeedtraining.wordpress.c...new-insurance/